HomeFAQ.
Chanok's portrait

Go to Student's 1st Page

ชื่อ : ชนก อนันตปรีชา (เก่ง) 23 ปี
รหัสนักเรียน : อห. 0031153
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง 6)
อาชีพ : กำลังศึกษาต่อ
จุดประสงค์ในการเรียน : ต้องการศึกษาต่อยอดความรู้เดิมของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
ผลการทดสอบ : เริ่มเรียนระดับพื้นฐาน ต่อระดับกลาง

เลือกเรียนครั้งแรก : ครึ่งรอบ (5 ครั้ง) เฉพาะวันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมง เริ่ม 28 พ.ย. 2553 จบรอบ 26 ธ.ค. 2553


12345
จิด-ตระ-ธานี แนะ
     เก่งเป็นนักเรียนคนที่ 3 ของ "โรงเรียนอ่อนหัด" ครับ เก่งเป็นคนที่มีพื้นฐานการวาดลายไทย ดีพอตัวเลยทีเดียวครับ (โดยดูจากตัวอย่างผลงาน ที่นำมาให้ดู ในวันทดสอบพื้นฐาน) เพราะใจรัก ทำให้เก่งอาศัยเรียนรู้ลายไทย ด้วยตนเองมาตลอด โดยอาศัยวิธีครูพักลักจำเอา เก่งเคยมีโอกาสให้อาจารย์มหา'ลัย ที่เชี่ยวชาญโดยตรง แนะนำให้บ้างเป็นบางครั้ง แต่ไม่บ่อยนัก เก่งมีมุมมองในการทำงานลายไทย แบบประยุกต์ผสมผสาน กับงานออกแบบแฟชั่นดีไซน์ ที่เก่งเรียนจบมา เท่าที่สอบถาม เก่งมีความตั้งใจจะศึกษาให้รู้จริง และลึกซึ้งให้มากกว่านี้ครับ เรามาดูพัฒนาการของเก่ง จากผลงานในชั้นเรียนไปพร้อมๆ กันนะครับ

ผลงานครั้งที่ 5 : (รอบที่ 1)

     ครั้งที่ 5 นี้ เก่งต้องการจะหัดวาด ตัวยักษ์ ตัวลิง ครับ ในภาพเป็นหนุมาน ในท่ากำลังเหินขึ้นสู่อากาศ เก่งวาดได้ดีครับ แต่การวาดส่วนหัวหนุมานยังต้องแก้ไข และมือเท้าในท่าเหาะ ต้องวาดให้ดูมีกำลัง และเส้นนำทิศทาง ช่วงขา ช่วงน่อง ช่วงเท้า จะต้องนำเส้น ให้ดูเหมือนกำลังพุ่งทะยานไปในอากาศ จำเป็นต้องแก้ไขเล็กน้อยครับ (เส้นสีเข้มเป็นเส้นที่ผมวาดแนะนำครับ)

(ดูภาพด้านล่างต่อนะครับ)

ผลงานครั้งที่ 5 : (รอบที่ 1)

     ภาพล่างนี้ เป็นตัวทศกัณฐ์ กำลังแสดงฤทธิ์โดยมี 4 กร และยืนด้วยเท้าข้างเดียว ในท่ากำลังเตรียมออกศึกครับ จะเห็นว่าเก่งวาดเส้นแกนของลำตัวช่วงลำคอ กับอกเลื่อนออกไปหน่อย ยังไม่สมดุลครับ ผมเลยวาดแก้ (เส้นที่เข้มกว่า) ให้ดูเป็นตัวอย่าง และแนะนำว่าควรวาดให้ ช่วงวงแขนดูแข็งแรงกว่านี้อีกหน่อย ให้เหมาะสมกับเป็นพญายักษ์ ส่วนสัดส่วนอื่นๆ พอใช้ได้ครับ
     การวาดภาพขึ้นรูป ตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง หรือสัตว์ต่างๆ ก็ดี ควรจะหัดวาดจากโครงร่าง ที่เป็นตัวเปลือยๆ ก่อนนะครับ ก่อนจะวาดเครื่องประดับ และเสื้อผ้าทับลงไปอีกที เพราะหากวาดเสื้อผ้าลงไปเลย จะทำให้เราไม่สามารถสังเกตส่วนสัดที่ถูกต้องได้ (พลาดง่ายกว่า) และจะทำให้ผลงานมีปัญหาในภายหลัง จะแก้ไขลำบาก เพราะหากวาดรายละเอียดลงไปแล้ว เกิดผิดสัดส่วน ก็ต้องลบทิ้ง ทำให้เสียเวลามาก เมื่อต้องวาดใหม่ เพราะฉะนั้นควรหัดร่างโครงให้แม่นๆ ก่อนนะครับ ซึ่งการวาดโครงแบบเปลือยๆ จะดีที่สุดครับ

ผลงานครั้งนี้ : ผมให้ starstarstar สำหรับความตั้งใจครับ
จิด-ตระ-ธานี (16 ม.ค. 2554)

 
กลับด้านบน

 
 
กลับด้านบน
 
Histats Created: Mon, 6 Dec.2010

Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2009-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved.