Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

        'จิน' หนุ่มอุตรดิตถ์ฝีมือดี จากรั้วเพาะช่าง ที่วาดลายไทยได้น่าประทับใจมาก ส่งผลงานงามๆ มาร่วมแสดงอีก ๓ ภาพครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานจินครับ

 
เกรียงกมล นาคบางแก้ว (จิน) , ๓๒ ปี
วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ , จ.อุตรดิตถ์

แรงบันดาลใจ : ผลงานเพิ่มเติมครับอาจารย์ ชุดพระกับสาวกถวายวัดไปแล้วครับ อีกรูปเทพหน้าตรงครับ

ส่งผลงานเมื่อ ๑๘ เม.ย. ๒๕๕๔)
 
 






Jin's portrait


  select arrowselect arrow

6
123456789101112131415161718192021222324252627


  จินวาดรูปนี้ได้สวยจังเลยครับ เป็นพระคเณศหน้าตรง ที่ผมไม่ค่อยเห็นใครวาดสไตล์นี้กันซักเท่าไหร่ เส้นสายก็ดีเอามากๆ เลยนะครับ รู้สึกคนไทยจะนิยมนับถือบูชา องค์พระคเณศ ซึ่งเป็นเทวดาในศาสนาฮินดูกันมากๆ ๆ จริงๆ เลยนะครับ (มากกว่าอินเดีย ที่เป็นต้นตำรับซะด้วยสิ เพราะชาวฮินดูในอินเดียส่วนใหญ่นับถือ พระกฤษณะ, Krishna) ถ้าลองค้นหาคำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ดู ก็จะได้ความหมายดังนี้ครับ

คเณศ [คะเนด] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้ว จะป้องกันความขัดข้องที่อาจเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส.)

ถ้าเกิดใครบูชาพระพิฆเนศวรอยู่ แล้วกำลังจะอ่านเรื่องที่ผมจะเขียนวิจารณ์ต่อไปนี้ ก็อย่าเพิ่งเคืองกันเลยนะครับ เอาเป็นว่าผมขอพูดถึง "ชาวพุทธ" ผู้ที่สนใจความเป็นพุทธ (เถรวาท) แท้ๆ มากกว่าแค่ "รูปแบบที่แปะอยู่ภายนอก" ว่าคุณเป็น "ชาวพุทธ" เพื่อให้ดูแล้วเท่ห์ เท่านั้นนะครับ

    เมื่อราว ๒,๕๐๐ กว่าปีที่แล้ว เจ้าชายสิทธัทถะ ประสูติในวรรณะกษัตริย์ ในขณะที่เวลานั้น อินเดียเบ่งบานไปด้วยลัทธิบูชาเทวดากันอย่างมากมาย เกลื่อนกล่น แต่หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้ จนสำเร็จเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว คำสอนของท่านก็เรียกได้ว่า "สวนทาง ทวนกระแส หรือขัดแย้งกับความเชื่อ หรือลัทธิต่างๆ ในสมัยนั้นแทบทั้งหมด" ท่านปฏิเสธการแบ่งชั้นวรรรณะ (ซึ่งเป็นเรื่องซีเรียสมากในสังคมอินเดียขณะนั้น) และท่านก็ปฏิเสธการบวงสรวง อ้อนวอน บูชา ร้องขอ จากสิ่งภายนอก ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ภูเขา หรือแม้กระทั่งเทวดาชั้นสูงที่สุดก็ตาม (เพราะท่านเห็นว่า แม้เทวดาเอง หรือ พรหมชั้นที่สูงที่สุด ก็ยังไม่พ้นทุกข์จริง) แต่ท่านได้แนะนำเหล่าพุทธบริษัท ให้ปฏิบัติตนตามแนวทาง "สติปัฏฐาน ๔" เพื่อให้ตนเอง..ได้ตนเองเป็นที่พึ่ง (ซึ่งเป็นที่พึ่งที่หาได้ยากยิ่ง) อย่างแท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องไป อ้อนวอน ร้องขอ บนบาน เอาจากสิ่งภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งภายนอกเหล่านั้น ล้วนแปรปรวน และไม่สามารถที่จะเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้จริง พูดง่ายๆ ว่า "ท่านปฏิเสธลัทธิบูชาเทวดาทุกๆ ชนิด เพราะท่านเห็นแล้วว่า..ไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริง" นั่นแหละครับ

ผมเคยเขียนวิจารณ์เรื่องทำนองนี้ ค่อนข้างยาว ในภาพพระพิฆเนศ ของ ด.ช. ปัน ใครสนใจสามารถคลิกอ่านได้ ที่นี่ครับ

    สิ่งหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่อยู่ปลายยอด และเป็น "ศาสนาแห่งปัญญา" อย่างแท้จริง ก็อยู่ที่หลักคำสอน ซึ่งสวนกระแสและฝืนความรู้สึกของชาวโลกอย่างที่สุด ก็คือ
    ๑). ชาวโลกส่วนใหญ่ ไม่ชอบพึ่งตัวเอง แต่ชอบแสวงหาที่พึ่งจากสิ่งภายนอก (จึงเกิดลัทธิบูชา อ้อนวอน ร้องขอ ต่างๆ ขึ้นมามากมาย ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งไม่เคยหมดหรือสูญหายไปจากโลกนี้เลย ไม่ว่าจะยุคใด สมัยใด ก็ตาม) แต่...พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะแนวทาง ให้แสวงหาที่พึ่งจากภายใน ด้วยการฝึก "จิตใจ" ตนเอง จนสามารถมีตนเป็นที่พึ่ง (ที่หา โค-ตะ-ระ ยาก) ให้แก่ตนเองได้ในที่สุด
    ๒). ชาวโลก ต้องการความสุขถาวร ความสงบถาวร ความดีถาวร แต่ท่านสอนว่า ความสุข ความสงบ และความดี ถาวร ไม่เคยมีอยู่จริง เพราะถึงจะมีอยู่ได้ (เพราะอาศัยเหตุ + ปัจจัย) ก็มีอยู่ได้เพียง..แค่ชั่วคราวเท่านั้น และยังตกอยู่ภายใต้ "กฎไตรลักษณ์" (ลักษณะสามัญ ๓ ประการของโลก) เสียอีก ซึ่งล้วนยังแปรปรวน ถูกบีบคั้น บังคับให้อยู่ในอำนาจ หรือเป็นไปตามใจเราไม่ได้ และยังไม่สามารถเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้จริง (* พูดอย่างงี้ ไม่ใช่หมายความว่า..ผมจะเชียร์ให้คุณ "ทำชั่ว" กันนะครับ เพราะความชั่วทั้งปวง เราก็จำเป็นต้องละ ด้วยศีลและสมาธิ (ซึ่งเป็นธรรมะที่เอาไว้ข่ม หรือชนะกิเลสอย่างหยาบ และอย่างกลาง ได้ตามลำดับ) อยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงที่ทำให้ "การเจริญปัญญา" (คือการเอาชนะกิเลสอย่างละเอียดสุดๆ คือ "ความโง่ (อวิชชา)" เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง) ตามแนวทาง ที่มีเพียงในคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เรียกว่า "วิปัสสนา" ซึ่งแปลว่า "การเห็นอย่างวิเศษ" จะพึงเจริญขึ้นๆ ต่อไปได้)
    ๓). ชาวโลกส่วนใหญ่ ล้วนเกลียดทุกข์ กลัวทุกข์ อยากจะหนีมันไปให้ไกลๆ แต่พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้ "รู้ทุกข์" (เพื่อที่จะ "ละทุกข์" ได้ในที่สุด) ด้วยการเลือก..ที่จะเผชิญหน้ากับมันตรงๆ ด้วยการ "รู้จัก..และรู้เท่าทัน กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของมัน ตามความเป็นจริง" (ด้วยการไม่เข้าไปแทรกแซง โดยการไหลตามกิเลส หรือกดข่มบังคับ แต่..ให้รู้ซื่อๆ)

    แนวทางคำสอนในศาสนาพุทธเอง ก็ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เช่นกัน (สิ่งใดๆ เมื่อมีเกิด ย่อมมีดับไปเป็นธรรมดา) ในพระไตรปิฎก ยังระบุถึงช่วงกัป ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เรียกว่า "สุญญกัป" ซึ่งหมายความว่า "คำสอนเรื่องการเจริญปัญญา ด้วยการรู้ทุกข์ ตามแนวทางการเจริญวิปัสสนา" ก็จะไม่มีขึ้นด้วยเช่นกัน แต่..ศาสนาที่มี GOD หรือ เทพเจ้า จะไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้เลย เช่นเดียวกับคำสอนเรื่อง ศีล และสมาธิ ก็จะยังดำรงอยู่ ตามยุคที่บรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย ยังคงเกิดขึ้นมาในโลกนี้ แต่คำสอน "ต่อยอด" จากขั้นสมาธิ เพื่อให้ถึงการเจริญด้วย "วิปัสสนาปัญญา" จะไม่มีการปรากฏขึ้นอีกเลย จนกว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นมา

    เอ้า...ฝอยนอกเรื่อง (อีกละ) เหมือนนิทานคนแก่มั้ยครับ.? ^.^ อย่าหาว่าผมเป็นพวก "พุทธลิสซึ่ม" ละกันนะ ^^.. ผมเองมีเพื่อนสนิทที่จบจาก มหา'ลัย เดียวกัน ผมเคยเข้าไปที่ห้องพระอันโอ่โถง ในบ้านของเขา ซึ่งนอกจากจะมีพระประธานวางอยู่แล้ว ยังมีเทวรูป เทวดาต่างๆ (ในศาสนาฮินดู) วางเรียงเป็นชั้นๆ ปะปนกันอยู่เป็นจำนวนมาก (มากยิ่งกว่าพระพุทธรูปซะอีกนะ) ผมเห็นแล้วก็งงๆ แต่พอดูๆ ไปแล้วก็เหมือนๆ กับตัวผมเองในสมัยก่อน (ที่ยังไม่เคยได้มีโอกาส ศึกษาคำสอนในศาสนาพุทธระดับลึกๆ อย่างทุกวันนี้) ก็พลอยเห็นเออๆ ออๆ ไปกับคนไทยเป็นจำนวนมากกับเค้าด้วยว่า เทวดาต่างๆ ก็คือศาสนาพุทธในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นล่ะ
    แต่ตอนนี้..ถ้าเกิดผมจะชวนเพื่อนให้ทำความเข้าใจ ผมก็เกรงว่าจะ "โดนเตะ" ออกจากบ้านเสียก่อน T^T.. เพราะดูเขาจะนับถือของเขามากเลยนะ (เรียกว่านับถือปนๆ กัน เหตุก็เพราะ ยังไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าดีพอ)

    แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ ผมเห็นแล้วก็รู้สึกเฉยๆ นะครับ เพราะการที่คนเราจะรับหรือนับถืออะไรไว้ได้ จิตใจของเขาจะต้องโน้มเอียงไปในทิศทางนั้นเป็นหลักด้วย ซึ่งอะไรก็ตามที่ดูง่ายๆ กว่า เช่น การขอนั่น ขอนี่ แล้วรวย แล้วเฮง แล้วแคล้วคลาด อุปสรรคมลายสิ้น (โดยไม่ทำอะไรเลย) ย่อมเข้าถึงใจคนเป็นจำนวนมากๆ ได้มากกว่า แต่..พอเป็นอะไรที่ลึกซึ้ง และดู (เหมือน) จะเข้าใจยากกว่า อย่างหลักคำสอนแท้ๆ ในศาสนาพุทธ ที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะไว้ ก็มักจะถูกปฏิเสธ (เป็นปกติ) นะครับ ทุกวันนี้เราจึงพบเห็นชาวพุทธ ตามบัตรประชาชน หรือชาวพุทธตามทะเบียนบ้าน ซะมากกว่า แต่..กลับไม่เคยเข้าใจเลยว่า "จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้าสอนอะไร.?"

    ถ้าใครเคยดูรายการ "พื้นที่ชีวิต" ช่อง ThaiPBS ที่วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (ลูกชายคนเล็กของ จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ปี ๒๕๓๘) พิธีกรวัยรุ่น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ เคยพูดออกรายการ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาพุทธทำนองว่า "เป็นสิ่งที่ทำแล้ว..รู้สึกสบายใจ" (แน่นอนว่า ผู้พูดรู้สึกเพียงแค่..สบายใจเฉยๆ โดยไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น) ประโยคนี้อาจจะเป็น "ตัวแทนความรู้สึก" ของคนไทยส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้นะ ที่หลายๆ คนมักจะมองว่า "ศาสนาไหนๆ ก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ เพราะสอนให้ เป็นคนดี เหมือนๆ กันหมด ไม่เห็นจะแตกต่าง" และทุกวันนี้ ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ประกาศกับคนอื่นๆ ว่า "ตนเองไม่มีศาสนา" เสียด้วยซ้ำ
    แต่...หากคุณสำรวจตัวเองดูแล้ว และพบว่า..คุณเป็นคนหนึ่งที่เข้าใจว่า เป้าหมายหลักของคำสอนในศาสนาพุทธ เป็นไปเพียงเพื่อ...ความดี ความสุข และความสงบ แล้วล่ะก็ ก็น่าจะเรียกได้ว่า..คุณรู้จักศาสนาพุทธ น้อยเอามากๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เลยนะครับ เพราะศาสนาพุทธนั้น ก้าวข้ามไปไกลกว่า แค่ดี แค่สุข แค่สงบ มากมายหลายเท่านักครับ

    โหย...พล่ามยาวอีกแล้ว T_T อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ เอ้า..เข้าเรื่องรูปต่อดีกว่า จินวาดได้ดีนะครับ โครงสีสวย ให้อารมณ์แบบโบราณๆ ดี ^^..
    **อ้อ...อีกหน่อยๆ จินสังเกตเท้านิดนึงนะครับ เพราะดูแล้วเท้าบนกับเท้าล่าง จะมีขนาดใหญ่ไม่เท่ากันนะ เท้าล่าง (เท้าข้างที่ถูกทับ) ดูจะมีขนาดพอเหมาะกับองค์พระพิฆเนศมากกว่า (ถ้าเทียบกับขนาดลำตัวนะครับ) แต่เท้าบนช่วงฝ่าเท้าดูสั้นและเล็กไปนิดนึงนะครับ แต่รวมๆ ถือว่า..วาดได้สวยมากเลยครับ ขอให้วาดเล่นๆ ให้สนุกนะครับ (๑๙ เม.ย. ๒๕๕๔)
 
 
 

 


 
 
 

 
     


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.