Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

        'หมี' หนุ่มสุพรรณ ศิษย์เก่าจากคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏนครปฐม ส่งผลงานลายไทยมาร่วมแสดงอีก ๑ ภาพครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานหมีครับ

อนุรักษ์ มั่นจันทร์ (หมี) , ๒๔ ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, วิชารัฐประศาสนศาสตร์) , จ.สุพรรณบุรี
อาชีพ red arrow พนักงานหน่วยงานรัฐบาล

แรงบันดาลใจ : ภาพนี้เป็นภาพพุทธเจ้าปางอุ้มบาตรครับ ได้แนวคิดแรงบันดาลใจ มาจากจิตรกรรมไทยในพุทธประวัติ ตอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังวันออกพรรษา ที่เรียกว่า "เทโวโรหนะ"

ส่งผลงานเมื่อ red arrow ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๗)
 






Me's Portrait


 

4
12345


    การที่หมีใช้รูปแบบพระพุทธเจ้าปางอุ้มบาตร มาผสมกับตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ผมว่าดูพิกลอยู่นะครับ.? เพราะตามท้องเรื่อง พระพุทธเจ้าเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ที่อยู่ของพระอินทร์) เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งในขณะนั้นท่านได้บังเกิดเป็น เทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต พระนามว่า "พระสิริมหามายาเทวบุตร" หลังจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดพุทธมารดา จนท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล (การบรรลุธรรมขั้นต้นสุด ในจำนวนทั้งหมด ๔ ขั้น) แล้ว ท่านก็เสด็จกลับโลกมนุษย์ ด้วย "ปางลีลา" หรือ "ปางเปิดโลก" เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญ เรียกว่า "โลกวิวรรณปาฏิหาริย์" คือการเปิดโลกทั้ง ๓ ที่ทำให้เหล่า พรหม เทพ มนุษย์ และสัตว์นรก มองเห็นซึ่งกันและกันได้ และเรียกวันที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ว่า "เทโวโรหณะ" (แปลว่า วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก)

    จากเนื้อความที่กล่าวมา ไม่ได้เกี่ยวกับ "ปางอุ้มบาตร" แต่อย่างใด ส่วนปางอุ้มบาตรนั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตรเพื่อโปรดมหาชน ในกรุงกบิลพัสดุ์ คราวที่เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา จริงๆ ก่อนจะวาด หมีควรศึกษาเนื้อหาในพุทธประวัติให้ดีก่อนนะครับ ไม่งั้นอาจจะถูกผู้รู้ตำหนิได้ ว่าสักแต่วาดตามชอบใจ โดยไม่ศึกษาให้ละเอียดก่อน ส่วนคนที่ชมงานนั้น ก็อาจจะพลอยเข้าใจผิดไปด้วยได้ ผมคิดว่าหมีอาจจะจำภาพติดตา ของประเพณีตักบาตรเทโว ที่เป็นประเพณีสำคัญหลังวันออกพรรษา ของชาวพุทธในเมืองไทย ที่เด่นๆ และเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญคือ ประเพณีตักบาตรเทโว ที่ วัดสังกัตรัตนคีรี อ.เมือง จ.อุทัยธานี ที่จะเห็นพระสงฆ์ลงจากยอดเขาสะแกกรัง เป็นสายยาวอย่างสวยงาม เพื่อมารับของใส่บาตรจากประชาชนเรือนหมื่น ที่รออยู่ด้านล่าง แต่นั่นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในภายหลัง ไม่เหมือนเนื้อหาตรงในพุทธประวัติ ที่เราหยิบมาวาดนะ

     ต่อไปขอพูดถึงเรื่องเนื้องานต่อนะครับ หมีฝีมือดีนะครับ แต่ผลงานก็ยังมีส่วนที่ต้องพัฒนาอยู่ คือเรื่องสัดส่วนตัวพระ (ไม่มากหรอกครับนิดๆ หน่อยๆ) เช่น การวาดโครงหน้า รูปกระโหลกในหน้าด้านเพล่ (หรือเอียง ๔๕ องศา) ที่เนื้อกระโหลกส่วนท้ายทอยหายไป ทรงมงกุฎที่ยังต้องปรับอยู่ ใหญ่ไปบ้าง เอียงไปบ้าง หมั่นศึกษาให้เยอะๆ นะครับ งานดีแล้ว ความตั้งใจทำก็สูงมากเลย ขอให้หมีวาดเล่นๆ ให้สนุกครับ (๕ เม.ย. ๒๕๕๗)
 
 

 


 


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.