ผลงานสมาชิก กลุ่ม จิด.ตระ.ธานี (บางส่วน) ที่ร่วมแสดงใน นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ
จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ 3 ตามรอยสีไทย
13 – 27 พ.ย. 2559 ณ มิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ
พระชนก เขมาสโย (เก่ง)
Chanok Khemasayo
15 ธ.ค. 2529, จ.กรุงเทพฯ
พระสงฆ์
สมาชิกกลุ่ม No.225
FB: www.facebook.com/chanaka.kung
- ปริญญาตรี (สาขาวิชาออกแบบแฟชั่น และเครื่องแต่งกาย) คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
พระอิริยาบถนอน
16 x 84 x 9 cm
หล่อปูนพลาสเตอร์ ลงสีไทยอิสระ, Plaster & Acrylic
แนวความคิด
ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากพระอิริยาบถนอน หนึ่งในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในพระพุทธศาสนา ได้เเก่ อิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน แบบมีสติรู้สึกตัว
จิรพันธุ์ สัมภาวะผล (ฝ้าย)
Chiraphan Sampawapon
17 มี.ค. 2530, จ.ระยอง
พนักงานบริษัท: ช่างไฟฟ้า (Senior technician electrical maintenance)
สมาชิกกลุ่ม No.3
FB: www.facebook.com/chiraphan.sampawapon
- ปวส. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี (IRPCT)
อริยบุคคล 4
40 × 100 cm
เลือกใช้สีไทย: รต.19 วัดทองธรรมชาติ, Acrylic on canvas
แนวความคิด
- อริยบุคคล แปลว่า ผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกงล้อสังสารวัฏได้แล้ว คือผู้บรรลุธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
- จากซ้าย “ปุถุชน” ทั้งหลาย แหวกว่ายอยู่ท่ามกลางห้วงมหรรณพ (สังสารวัฏ) ผุดๆ โผล่ๆ ไม่รู้ที่ไป ถูกปลาใหญ่น้อย (กิเลส) ทำร้ายกัดกิน
- ถัดมา “พระโสดาบัน” (ผู้เห็นฝั่งแล้ว) คือผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้สำเร็จ คือ 1. สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา 3. สีลัพพตปรามาส อุปมาด้วยบุคคลผู้เห็นภัยจากกิเลส พยุงตัวโผล่พ้นจากผิวน้ำ ให้ห่างไกลจากฝูงกิเลส (ฝูงปลา) มองหาฝั่ง (นิพพาน) และเตรียมว่ายเข้าฝั่ง
- ถัดมา “พระสกทาคามี” (ว่ายเข้าฝั่ง) คือผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 ประการ คือ 4. กามราคะ 5. พยาบาท ให้เบาบางลง อุปมาด้วยบุคคล กำลังว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง (นิพพาน)
- ถัดมา “พระอนาคามี” (กำลังเดินขึ้นฝั่ง) คือผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ ได้หมดสิ้น คือ 1. สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา 3. สีลัพพตปรามาส 4. กามราคะ 5. พยาบาท อุปมาด้วยบุคคล ผู้กำลังเดินลุยน้ำเข้าใกล้ฝั่ง (นิพพาน)
- ถัดมา “พระอรหันต์” (ผู้ถึงฝั่งแล้ว) คือผู้ละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการสุดท้าย ได้หมดสิ้น คือ 1. รูปราคะ 2. อรูปราคะ 3. มานะ 4. อุทธัจจจะ 5. อวิชชา อุปมาด้วยบุคคลกำลังกระทำอัญชลีปราสาทอันว่างเปล่า (นิพพาน)
พยนต์ บุญมี (โย)
Phayon Boonmee
6 ก.พ. 2535, จ.เพชรบุรี
ศิลปินอิสระ
สมาชิกกลุ่ม No.80
FB: www.facebook.com/yoartssz
- ปริญญาตรี สาขาจิตรกรรมไทย คณะศิลปประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เทวารักษาประตู
100 x 60 cm
เลือกใช้สีไทย: อย.6 สมุดข่อยวัดศีรษะกระบือ (ภาพที่ 2), Acrylic on canvas
แนวความคิด
“ทวารบาล” คือเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาประตูตามศาสนสถาน จึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้
อนุรักษ์ มั่นจันทร์ (หมี)
Anurak Manjan
13 ก.ย. 2532, จ.สุพรรณบุรี
ข้าราชการพลเรือน (สนง.คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
สมาชิกกลุ่ม No.158
FB: www.facebook.com/100001230172709
- โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จ.สุพรรณบุรี
- ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ทวารบาล
61 x 111 cm
เลือกใช้สีไทย: อย.14 วัดใหญ่สุวรรณาราม, Acrylic on canvas
แนวความคิด
“สักกปัญหสูตร” หรือพระสูตรที่ว่าด้วย “ปัญหาของท้าวสักกะ” ท้าวสักกะหรือพระอินทร์ อยู่ในฐานะผู้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา จึงวาดท้าวสักกะไว้ฝั่งประตูด้านหนึ่ง ด้านล่างมีเทวดาแบกกึ่งเทพกึ่งมาร เปรียบดั่งกิเลสมารที่แฝงอยู่ในจิตมนุษย์ บานประตูที่แง้มออกเปรียบเหมือนการเริ่มต้นก้าวสู่ประตูแห่งธรรมะ สู่วิถีแห่งการหลุดพ้น
ณัฐ ดิสวัฒน์ (ณัฐ)
Nat Diswat
7 ก.ย. 2524 จ.กรุงเทพฯ
ศิลปินอิสระ, ธุรกิจส่วนตัว
สมาชิกกลุ่ม No.212
FB: www.facebook.com/nat.natty.9
- ปวส. จิตรกรรมไทย เพาะช่าง
- ปริญญาตรี ศิลปะไทย เอกจิตรกรรมไทย วิทยาลัยเพาะช่าง
ทวารบาล
50 x 150 cm (2 ชิ้น)
เลือกใช้สีไทย: อย.2 วัดช่องนนทรี และสีไทยอิสระ, Acrylic on canvas
แนวความคิด
ชื่นชอบและสนใจภาพทวารบาลตั้งแต่สมัยเรียน ประกอบกับห่างหายจากการเขียนภาพลักษณะนี้ไปนาน จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการวาดครับ
อภิเดช ศิริบุรี (นิค)
Aphidet Siriburee
13 ธ.ค. 2534, จ.มหาสารคาม
ศิลปินอิสระ
สมาชิกกลุ่ม No.130
FB: www.facebook.com/aphidet.siriburee
- ปริญญาตรี คณะศิลปประจำชาติ เอกจิตรกรรมไทย วิทยาลัยเพาะช่าง
วิถีธรรม-วิถีบุญ
80 ×105 cm
สีอะครีลิคบนพื้นดินสอพอง
เลือกใช้สีไทย: รต.28 วัดหน่อพุทธางกูร, Acrylic on canvas
แนวความคิด
ประทับใจในศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน ซึ่งเป็นแผ่นดินเกิด บวกความประณีตของจิตรกรรมไทยภาคกลางที่ได้ศึกษามา ผสมกับทัศนะส่วนตัว สื่อถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายภายใต้ร่มพุทธศาสนา แฝงด้วยความละเอียดของลายผ้าอีสาน สะท้อนความละเอียดอ่อนของจิตใจผู้คน และศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระพุทธศาสนา
อรุณศักดิ์ เผ่าภูรี (เนม)
Arunsak Paopuree
31 ต.ค. 2537, จ.อุบลราชธานี
นักศึกษา
สมาชิกกลุ่ม No.51
FB: www.facebook.com/arunsak.paopuree
- กำลังศึกษา คณะจิตรกรรมฯ (ศิลปะไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประเพณีรับบัว
60 x 80 cm
ใช้สีไทยอิสระ, Acrylic on canvas
แนวความคิด
แรงบันดาลใจมาจากประเพณีรับบัว ของชาวบางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นงานบุญที่สวยงาม สนุกสนาน ข้าพเจ้าเลยถ่ายทอดออกมาเป็นจิตรกรรมไทยรูปนี้
สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์ (ปัน)
Sirawit Chaturapattaranon
8 มิ.ย. 2543, จ.ระยอง
นักเรียนมัธยม
สมาชิกกลุ่ม No.11
FB: www.facebook.com/vhoteam.sirawich
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนธัมมสิริศึกษาสัตหีบ
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบ
อดีตพุทธ
110 x 90 cm
เลือกใช้สีไทย: อย.1 กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ, Acrylic on canvas
แนวความคิด
ได้แรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนัง วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.ราชบุรี ซึ่งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น สภาพลบเลือนตามกาลเวลา สะท้อนกฎไตรลักษณ์
เสรี เจริญชัย (โป้ง)
Seree Charoenchai
27 ต.ค. 2509, จ.นครปฐม
ธุรกิจส่วนตัว
สมาชิกกลุ่ม No.132
FB: www.facebook.com/pong.jarern
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) รร.มัธยมวัดหนองแขม กทม.
ดับความดุร้ายด้วยขันติธรรม
100 x 80 cm
สีอะครีลิคบนผ้าม่อฮ่อม
เลือกใช้สีไทย: รต.40 วัดพระสิงห์, Acrylic on canvas
แนวความคิด
พระพุทธเจ้าทรงใช้ขันติบารมี โดยไม่ตอบโต้ความหยาบกระด้าง ดุร้าย อันธพาลของ อาฬวกยักษ์ จนอสูรตนนี้จิตสงบลง จนสามารถเข้าถึงธรรมได้ ข้าพเจ้าจึงนำคาถาบทนี้มาเขียนเป็นจิตรกรรมรูปแบบล้านนาบนผ้าม่อฮ่อม ผ้าพื้นเมืองของ จ.แพร่
อำคา สุวรรณเพชร (อำ)
Amkha Suwannaphet
23 มี.ค. 2524, จ.ยโสธร
ศิลปินอิสระ
สมาชิกกลุ่ม No.165
FB: www.facebook.com/amkha.suwannaphet
- มัธยมปลาย โรงเรียนกำแมดขันติธรรมวิทยาคม จ.ยโสธร
- ปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ตามรอยแห่งพุทธะ
150 x 100 cm
เลือกใช้สีไทย: รต.41 วัดมัชฌิมวิทยาราม (วัดกลางบ้านลาน), Acrylic on canvas
แนวความคิด
แนวทางแห่งพุทธะ มิใช่ลัทธิระย่อต่อกรรมเก่า แต่เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ ที่สามารถพัฒนาตนเองให้สูงขึ้นได้ ด้วยการหมั่นพัฒนากรรมดี ทำสิ่งที่เป็นกุศลเพื่อหลีกหนีจากอบาย (เพราะอกุศลจะฉุดรั้งให้เราตกต่ำลง) เจตนาเหล่านี้มีผลให้ทิศทางกรรมเปลี่ยนแปลงได้ มิใช่จากการบนบาน อ้อนวอนร้องขอใดๆ
วัชพงศ์ เรืองวรรณศักดิ์ (เงิน)
Watchapong Ruangwannasak
9 มิ.ย. 2536, จ.อุดรธานี
นักศึกษา
สมาชิกกลุ่ม No.218
FB: www.facebook.com/watchapong.tungngurn
- ปวช. วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี
- ปริญญาตรี สาขาวิชาจิตรกรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง
พระเจ้าเปิดโลก
80 x 100 cm
เลือกใช้สีไทย: รต.41 วัดมัชฌิมวิทยาราม (วัดกลางบ้านลาน), Acrylic on canvas
แนวความคิด
ข้าพเจ้ามีความประทับใจในพุทธประวัติ ตอน พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ (พระเจ้าเปิดโลก) ที่พระพุทธองค์ทรงเปิดโลกทั้ง 3 ให้เห็นถึงกันและกัน เพื่อให้มนุษย์ได้เห็นถึงผลกรรม การกระทำความดีและชั่ว ข้าพเจ้าจึงนำเสนอเป็นจิตรกรรมไทยประเพณี ในรูปแบบของ “ฮูปแต้มอีสาน” ผนวกเข้ากับความประณีตแบบภาคกลาง
อนลัส เพ็ชร์วรุณ (เค)
Analas Petwaroon
19 เม.ย. 2538 จ.ภูเก็ต
นักศึกษา
สมาชิกกลุ่ม No.155
FB: www.facebook.com/analas.petwaroon
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีภูเก็ต (วิทย์-คณิต) จ.ภูเก็ต
- กำลังศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ สาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผิวเผิน
70 x 90 cm
เลือกใช้สีไทย: อย.4 สมุดข่อยทศชาติ (ภาพที่ 2), Acrylic on canvas
แนวความคิด
เมื่อ “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว” ย่อมเห็นดอกบัวเป็นกงจักรได้เช่นกัน หมายถึงคนเรามักดูคนแต่เพียงภายนอก บางคนอาจดูเหมือนยักษ์มาร แต่ภายใน กลับมีการเคลื่อนไหวของสิ่งดีๆ อยู่
นิกร สาธุชาติ (กอล์ฟ)
Nikorn Sathuchat
28 ต.ค. 2532, จ.ฉะเชิงเทรา
ครู (โรงเรียนวัดสุทธิวราราม)
สมาชิกกลุ่ม No.187
FB: www.facebook.com/golf.of.art
- ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ (เอกศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุวรรณกักกฏก (สุ-วัน-นะ-กัก-กะ-ตะ-กะ)
60 x 80 cm
ใช้สีไทยอิสระ, Acrylic on canvas
แนวความคิด
ประทับใจชาดก เรื่อง “สุวรรณกักกฏกชาดก” (ชาดกเล่าเรื่อง “ปูทองผู้ฉลาด”) เล่าวีรกรรมตอนปูหนีบคอกากับงู เพื่อช่วยชีวิตชาวนา
ขจรศักดิ์ รุ่งสุริยัน (ปังปอนด์)
Kajonsak Rungsuriyan
13 มิ.ย. 2537, จ.อยุธยา
นักศึกษา
สมาชิกกลุ่ม No.220
FB: www.facebook.com/kajonsak.rungsuriyan
- กำลังศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาศิลปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขจัด
115 x 115 cm
เลือกใช้สีไทย: รต.32 วัดวัง, Acrylic on canvas
แนวความคิด
จิตรกรรมเล่าเรื่องมารผจญ เป็นโครงหลักที่นำมาถ่ายทอดในอีกแง่มุมหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์ เปรียบเทียบกิเลสมารที่อยู่ภายในจิต
สมาชิกกลุ่ม จิด.ตระ.ธานี ที่ส่งผลงานร่วมแสดง “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ 3 ตามรอยสีไทย” ทั้งหมด 40 ท่าน
- เอกชัย พุ่มแก้ว (ไผ่) NO. 63
- ธรรมรัตน์ กังวาลก้อง (รัตน์) NO. 136
- บรรณสิทธิ์ วงเส (ติ๊ก) NO. 184
- นิศิษย์ ฤทธิเวช (หนึ่ง) NO. 6
- ณัฐ ดิสวัฒน์ (ณัฐ) NO. 212
- ธีร์รัชช์ บุญธราพัฒน์ (เชษ) NO. 207
- ยุทธนา ชมชื่น (ต้อม) NO. 199
- อภิเดช ศิริบุรี (นิค) NO. 130
- พยนต์ บุญมี (โย) NO. 80
- กิตติพงษ์ ทุมกิ่ง (ใหม่) NO. 70
- อำคา สุวรรณเพชร (อำ) NO. 165
- คทาธร ชัยจักร (ว้า) NO. 208
- พิณธรรม ขาวประเสริฐ (ทิพย์) NO. 222
- เทอดสิทธิ์ พันธ์ทองคำ (ตุ้ม) NO. 55
- ชนะภัย เทาศิริ (ต้อง) NO. 38
- ณัฐวุฒิ ชาติยาภา (โอ๊ต) NO. 221
- กฤษฏิ์ลภน กันทะวงค์ (รัน) NO. 115
- จิรพันธุ์ สัมภาวะผล (ฝ้าย) NO. 3
- อนุรักษ์ มั่นจันทร์ (หมี) NO. 158
- วุฒิพงศ์ งามประเสริฐสุข (มอส) NO. 211
- นิกร สาธุชาติ (กอล์ฟ) NO. 187
- กิติพงษ์ กล่ำกองกูล (อาร์ท) NO. 82
- พุฒิพงษ์ เจริญสุขใส (บิ๊ก) NO. 216
- วิวัฒน์ งามสัจจพร (ปุ๊) NO. 58
- สรุทต์ สัตบุรุษาวงศ์ (ป่าน) NO. 4
- พิษณุ ไวยทุ (ณุ) NO. 215
- เสรี เจริญชัย (โป้ง) NO. 132
- นพพล นุชิตประสิทธิชัย (เก่ง) NO. 134
- พระชนก เขมาสโย (หลวงพี่เก่ง) NO. 225
- กิติกาญจน์ กอสุพรรณ (กาญจน์) NO. 217
- ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง (นพ) NO. 37
- วัชพงศ์ เรืองวรรณศักดิ์ (เงิน) NO. 218
- มติกร ยุระตา (อิง) NO. 105
- อนลัส เพ็ชร์วรุณ (เค) NO. 155
- อรุณศักดิ์ เผ่าภูรี (เนม) NO. 51
- ขจรศักดิ์ รุ่งสุริยัน (ปังปอนด์) NO. 220
- สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์ (ปัน) NO. 11
- ลัทธพล ต่ายหัวดง (แมน) NO. 47
- ไชยอนันต์ จันต๊ะนัน (ป๋อง) NO. 148
- กัณภัค ฉ่ำบุญทา (ซานโต๊ส) NO. 219
0 comments on “ตามรอยสีไทย สมาชิกกลุ่ม จิด.ตระ.ธานี: Jitdrathanee Art Community#1”Add yours →