|
|
แก้ว จิตรกรสาวจากรั้ว คลอง ๖ ส่งผลงานลายไทยมาแสดงอีก ๒ ภาพ ครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานแก้วครับ
|
สมจินต์ สังขาว (แก้ว) , ๒๗ ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลอง ๖ , จ.กรุงเทพฯ
แรงบันดาลใจ : ขอเป็นเสี้ยวส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ค่ะ
ส่งผลงานเมื่อ ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๓)
|
|
|
|
|
|
|
วาดได้สวยทีเดียวครับสำหรับเทวดาและนางฟ้าคู่นี้ (อ่า...คราวนี้แก้วพูดอะไรในแรงบันดาลใจมาบ้างแล้ว ^0^) แต่ผมมีข้อแนะนำนิดนึงนะ ดูที่ภาพขยายด้านล่างนะครับ จุดที่ว่าคือในส่วนของ "กรรเจียกจอนหู" ซึ่งเป็นเครื่องประดับใบหู ประกอบเครื่องสวมศีรษะที่มียอดสูง ประเภทชฎาหรือมงกุฎไทย ดูที่จุดที่ ๑. นะครับ จะเห็นว่าแก้ววาดกระหนก ๓ ตัว ที่กรรเจียกจอน สูงเกินไปครับ เพราะมันเลยขึ้นไปแปะบนหน้าผากแล้ว (T^T)* ซึ่งจะทำให้ดูผิดปกตินะครับ ดูจากรูปเทียบฝีมือช่างไทยโบราณ (รูปขาว-ดำ) ที่อยู่ขวามือสุดนะครับ จะเห็นได้ว่า จุดเริ่มต้นของตัวกระหนก (ตรงโคน) จะไม่เกินกว่าหางคิ้ว (ไม่นับปลายยอดกระหนกที่สะบัดเปลวนะครับ) มาดูจุดที่ ๒. นะครับ อันนี้ไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่กระหนก "ตัวประกบ" (ชื่อของกระหนกตัวที่ ๒ ของแม่ลายกระหนก ๓ ตัว) แก้ววาดแล้วดูปูด หรือนูนไปนิดนึง ไม่ค่อยงามครับ
ต่อไปดูจุดที่ ๓. นะครับ จริงๆ แก้ววาดกระหนกได้ดีนะ แต่พอมาเป็นกรรเจียกจอน ตรงส่วนที่ทัดกับใบหูนี้ "ตัวมันใหญ่" มากเกินไปนะครับ ไม่พอดีไม่ค่อยงามครับ ผมมีรูปตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา (ขอบคุณภาพจาก "เว็บบอร์ด เรือนไทย.วิชาการ.คอม" นะครับ) มาให้ดูด้วยครับ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ช่างไทยออกแบบกรรเจียกจอนเพื่อให้สวมพอดีกับใบหูนะ (ไม่ใช่ตรงหน้าผากนะครับ ^_^) จะสังเกตตรงหมายเลข ๔ คือ "ต่างหูโลหะ" ที่สวมจนติ่งหูยาน (อันนี้เป็นความเห็นของผมนะ) และส่วนที่เหลือคือ กรรเจียกจอน ที่สวมตรงใบหูได้พอดี และต่อกับเครื่องยอดที่เป็นชฎานะครับ
จริงๆ ปัญหาก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ เพียงแต่ผมดูภาพนี้แล้วผิดสังเกตตรงจุดนี้เท่านั้น ขอให้วาดภาพให้สนุกนะครับ อ้อ..สนใจต้นแบบที่ผมวาด (แบบเป็นขั้นตอน) คลิกดูได้จาก ต่อยอด ๒ นะครับ (๒๒ พ.ค. ๒๕๕๓)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels. |
|