|
|
'บิ๊ก' ขาประจำที่มีผลงานมากที่สุดในระเบียง วาดเล่นๆ กับ จิด-ตระ-ธานี ครั้งนี้ 'หนุ่มบิ๊ก' ส่งผลงานลายไทยงามๆ มาให้ชมเพิ่มเติมอีก ๔ ภาพครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานของ 'บิ๊ก' ครับ
|
อรรถนิติ ลาภากรณ์ (บิ๊ก) , ๓๑ ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง๖) , จ.ปทุมธานี
แรงบันดาลใจ : ภาพ "อัมพปาลี"
เป็นสตรีนางหนึ่งในสมัยพุทธกาล คนพบเธออยู่ใต้ต้นมะม่วง มีความงามมากครับ จริงๆ ผมเขียนภาพ "อัมพปาลี" ไว้หลายภาพ แต่เลือกมาให้ชมกัน ๑ ภาพ ครับ
ส่งผลงานเมื่อ ๑๓ ก.พ. ๒๕๕๔)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อืม..วาดได้สวยดีทีเดียวครับ แต่ไหง? ใบมะม่วงมันถึงดูหงิกๆ งอๆ ล่ะครับ สงสัยโรคจะลง..^^ หะๆ "นางอัมพปาลี" เป็นมนุษย์เพียง ๑ น้องนางเดียว ที่ถูกระบุในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่า กำเนิดโดยวิธี โอปปาติกะ (โอ-ปะ-ปา-ติ-กะ) หรือ การเกิดชนิดที่ผุดเกิดขึ้นเต็มตัวเลย (เหมือน ผี เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก) โดยไม่จำเป็นต้องผ่านท้องของมารดาให้เมื่อย บิ๊กเล่นอธิบายมานิดเดียว คนอื่นๆ ที่ไม่ได้อ่านพระไตรปิฏก ก็ไม่รู้เรื่องดิ เดี๋ยวผมของเล่าย่อๆ ละกันนะครับ
ก่อนที่นางอัมพปาลีจะมาเสวยชาติสุดท้ายในชาตินี้ ชาติก่อนนางเคยบวชเป็นภิกษุณีในศาสนาของ พระพุทธกัสสป (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ ในภัทรกัป หรือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์) ด้วยนางรังเกียจการเข้าไปอยู่ในครรภ์ นางจึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้กำเนิดแบบ โอปปาติกะ ด้วยการตั้งจิตนั้น ในอัตภาพสุดท้าย นางจึงบังเกิดเป็นโอปปาติกะ (เป็นหญิงสาว ที่มีอายุ ๑๔ - ๑๕ ทันที) ณ โคนต้นมะม่วง ในพระราชอุทยาน ณ กรุงเวสาลี ครั้นพนักงานอุทยานมาพบเข้า จึงนำตัวนางเข้าสู่พระนคร และต่อมานางจึงได้ชื่อว่า "อัมพปาลี" (ดูคำแปลด้านล่างครับ) ตามสถานที่ที่พบนาง
อัมพ [อําพะ] น. ต้นมะม่วง, ใช้ว่า อัมพพฤกษ์ ก็มี. (ป.; ส. อามฺร)
อัมพวัน [อำพะวัน] n. mango orchard [คำเหมือนกัน] อัมพวา [อำพะวา] น. ป่า หรือสวนมะม่วง
ปาลี น. ผู้ปกครอง, ผู้เลี้ยง, ผู้รักษา. (ป., ส.)
ครั้นเจ้าชายหลายองค์ในวัง ได้เห็นความสวยสะพรั่ง และงามเหมือนไม้ดอกแรกแย้ม อย่างหมดจดของนาง ก็เกิดความใคร่ อยากได้ตัวนางมาเป็นชายา จนกลายเป็นการทะเลาะวิวาทกัน จนผู้พิพากษาต้องเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยคำตัดสิน คือ แต่งตั้งนางไว้ในฐานะแห่ง "คณิกาหญิงแพศยา" โดยให้นางจงเป็นของทุกๆ คน (คณิกา และ แพศยา มีความหมายเดียวกันคือ หญิงที่มีรายได้จากการร่วมประเวณี)
* ขอเสริมหน่อยนะครับ ในสมัยพุทธกาล ใครที่ถูกแต่งตั้งในตำแหน่ง "หญิงคณิกา" จะอยู่ใน นครโสเภณี ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ และจะได้รับเงินเลี้ยงดูจากกษัตริย์ เพราะถือเป็นหญิงงามเมือง อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับพระนคร แถมค่าตัวยังสูงมากๆ อีกด้วย ต่างจาก หญิงโสเภณี ที่คนไทยเรารู้จักกันในยุค พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ กันอย่างลิบลับเลยล่ะครับ
จริงๆ ยังมีประวัติอีกยาว ผมขอตัดตอนเลยก็แล้วกันนะครับ (สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ "อัมพปาลีเถรีคาถา") ต่อมานางได้บวชเป็นภิกษุณี ในสำนักของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของพวกเรา ซึ่งเป็นองค์ที่ ๔ ในภัทรกัป ส่วนองค์ที่ ๕ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในกัปนี้ มีชื่อว่า "พระศรีอาริยเมตไตรย") โดยนางได้ชื่อว่า "อัมพปาลีเถรี" ต่อมานางได้เจริญวิปัสสนาปัญญา จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ไม่ต้องกลับมาเกิด เพื่อให้ได้มาซึ่ง กาย+ใจ ที่เป็นดั่งภาชนะสำหรับรองรับทุกข์อีกต่อไป
ขอให้วาดเล่นๆ ให้สนุกนะครับ (๑๔ ก.พ. ๒๕๕๔)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels. |
|