Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

        'บิ๊ก' หนุ่มหน้ากลมที่ติดอันดับ ผู้ส่งผลงานมากที่สุดใน วาดเล่นๆ กับ จิด-ตระ-ธานี คราวนี้ 'หนุ่มบิ๊ก' ส่งผลงานลายเส้นงามๆ มาให้ชมอีก ๑ ภาพครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานของ 'บิ๊ก' ครับ

 
อรรถนิติ ลาภากรณ์ (บิ๊ก) , ๓๐ ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง๖) , จ.ปทุมธานี

แรงบันดาลใจ : ภาพ "ใต้ร่มกาสาวพักตร์"

ส่งผลงานเมื่อ ๑๐ ก.พ. ๒๕๕๓)
 
 








   

123456789101112131415161718192021222324252627282930313233
3435363738394041424344464748495051525354555657585960


  อืม...วาดได้งามเหมือนเดิมครับ ลายเส้นรูปนี้ก็เป็นอีกรูปหนึ่งที่สวยมากของบิ๊กนะครับ แต่ผมมีข้อสังเกตนิดนึงนะ (ขอนอกเรื่องนิด เพราะรูปนี้เห็นค่อนข้างชัดเจน) ...เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ?....ว่า ทำไม 'ติ่งหูของพระ' แบบภาพไทยจึงต้องยาว? อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ "คติมหาบุรุษลักษณะ" ซึ่งหมายถึงผู้ประกอบด้วยบุญและบารมี ระดับพระพุทธเจ้านะครับ แต่ที่น่าสนใจคือ เรามักจะเห็นว่าภาพไทยส่วนใหญ่ จะวาดตัวละครให้มีติ่งหูยาวมาก ทั้งพระ ทั้งเทวดา กษัตริย์ และบางทีรวมไปถึงเหล่าข้าราชบริพาร อีกด้วย

   อันนี้เป็นข้อสังเกตของผมเองนะครับ อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการก็ได้ ดูจากรูปภาพตัวอย่างที่ผมเสิร์จหา ได้จากหลายแหล่งบนเว็บนะครับ
รูปที่ ๑). ภาพบานประตูไม้แกะสลักรูปเทวดา สมัยอยุธยาตอนต้น จากซุ้มจรนำเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ *สังเกตที่ติ่งหูนะครับ จะเห็นว่ามีรอยเจาะที่ลากเป็นเส้นยาว และห้อยประดับด้วยต่างหู เป็นรูปตุ้มปลายแหลมขนาดใหญ่
รูปที่ ๒). พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี แกะสลักจากหินสีเขียวอมดำขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา *สังเกตที่ติ่งหูนะครับ ว่า...ทั้งยาว หนา แถมยังใหญ่มากๆ
รูปที่ ๓). เศียรพระพุทธรูป ในวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา *ที่ติ่งหูสังเกตเห็นรอยเจาะหูเป็นเส้นยาว
รูปที่ ๔). กรรเจียกจอนหู ของพระพุทธรูปทรงเครื่อง สมัยอยุธยาตอนปลาย *สังเกตที่ติ่งหู มีร่องรอยเหมือนเจาะหู และปลายสุดประด้บด้วยต่างหู รูปตุ้มปลายงอน ยอดแหลม

    คุณคิดเหมือนผมมั้ย? อาจเป็นไปได้ว่า คนในสมัยโบราณ (เป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว) นิยมการเจาะหู ทั้งชาย-หญิง และประดับด้วยต่างหูขนาดใหญ่ ที่มีน้ำหนัก (มาก) จึงถ่วงให้ติ่งหูยืดยาวผิดไปจากลักษณะปกติ แต่ในสังคม (สมัยนั้น) นิยมกันว่า "งาม" จึงไปปรากฏต่อในภาพจิตรกรรม และงานประติมากรรมต่างๆ ซึ่งนิยมวาดและแกะสลักสืบทอดต่อๆ กันมา จนกระทั่งทุกวันนี้

    ข้างบนเป็นเพียงข้อสังเกตของผมเท่านั้นนะครับ แต่ถ้าใครมีข้อมูลทางวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ ก็ช่วยบอกผมด้วยครับ ^_^ (๑๑ ก.พ. ๒๕๕๓)
 
 
 




 
 
 

 
     


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.