'แมน' หนุ่มน้อยชาวเมืองชากังราว (ชื่อเมืองดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ของ จ. กำแพงเพชร) ส่งผลงานลายเส้นไทย มาร่วมแสดงครานี้อีก ๕ ภาพ ครับ ระเบียง '
วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี
' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานของแมนครับ
ด.ช. ลัทธพล ต่ายหัวดง (แมน) , ๑๔ ปี
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
, จ.กำแพงเพชร
แรงบันดาลใจ
: ขีดๆ เขียนๆ ครับ
ส่งผลงานเมื่อ
๒๐ มี.ค. ๒๕๕๕)
รูปเปรียบเทียบลายไทย/ลายขอมคู่นี้ ก็วาดได้สวยครับ ดูรายละเอียดในลวดลายของแมนสิ ไม่ธรรมดาเลยครับ จริงๆ ถ้าแมนลองศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ในแต่ละยุค แต่ละสมัย จะได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ลายไทยในแต่ละยุคนั้น จะมีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างกันไป เช่น ลายไทยสมัยอยุธยา (ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่ช่างไทย ได้พัฒนาลวดลาย จนมีลักษณะ "อย่างไทยแท้" ที่ชัดเจน ก็ปรากฏในยุคนี้แหละครับ) ตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย ก็ไม่เหมือนกัน เช่น ภาพทางขวามือ เป็นจิตรกรรมสกุลช่างเพชรบุรี สมัยอยุธยาตอนปลาย จะเห็นว่า เทวดาสวมมงกุฎยอดค่อนข้างเตี้ย จะไม่สูงชลูดเหมือนกับสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างที่เราคุ้นเคยนะครับ ศึกษาให้มากๆ นะครับ แล้วจะรู้ได้เรียนรู้อะไรอีกแยะเลย ถ้าเราชอบด้วย จะยิ่งสนุกนะ ขอให้วาดเล่นๆ ให้สนุกครับ
(๒๙ มี.ค. ๒๕๕๔)
จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเพชรบุรี สมัยอยุธยาตอนปลาย
ภายในพระอุโบสถ
วัดเกาะแก้วสุทธาราม
หรือ "วัดเกาะ"
วัดเกาะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ต.ท่าราบ ทางทิศใต้สุดของ อ.เมือง เพชร
บุรี
(ในจิตรกรรมฝาผนัง มีตัวเลขปีที่เขียนภาพปรากฏอยู่ เทียบได้กับ พ.ศ. ๒๒๗๗ ถ้าหักลบกับปีนี้คือ พ.ศ. ๒๕๕๕ จิตรกรรมเก่าแก่แห่งนี้ จะมีอายุ ๒๗๘ ปี)
Create and Maintained by
JitdraThanee
Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved.
Best viewed 1280x800 pixels.