Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

       'เปิดกรุ ครูช่าง' แหล่งรวบรวมผลงานศิลปกรรม ของบรมครูช่างไทยแต่โบราณ ที่ทิ้งร่องรอยอันทรงคุณค่าไว้ เป็นแม่แบบ เป็นแรงบันดาลใจ ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ระรึกรู้ และสืบทอดผลงานศิลปกรรม อันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา







  ๑. ลายรดน้ำฝีมือครูช่างวัดเซิงหวาย
ลายรดน้ำของไทยเป็นงานประณีตศิลป์ ที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยอยุธยา และสืบทอดต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หนึ่งในตู้ลายรดน้ำที่ได้รับการยกย่องในฐานะ งานช่างชั้นครูแห่งสยาม ก็คือ "ลายรดน้ำบนตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย" ซึ่งมีความงามเป็นเลิศ แสดงถึงอัจฉริยภาพของช่างไทย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ได้เป็นอย่างดี
     ที่ได้ชื่อว่า "ลายวัดเซิงหวาย" เพราะเดิมตู้พระธรรมนี้อยู่ที่ วัดเซิงหวาย จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อมาได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ วัดนางนอง ฝั่งธนบุรี และในปัจจุบันย้ายไปจัดแสดงให้ประชาชนชมที่ หอพระสมุดวชิรญาณ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ไม่ทราบปีที่ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ ยังหอพระสมุดฯ สันนิษฐานว่าน่าจะนำมาก่อนพุทธศักราช ๒๔๕๔ เพราะปรากฏเรื่องเกี่ยวกับตู้หลังนี้ในหนังสือ "ประตูใหม่" ฉบับวันที่ ๑ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ มีผู้แต่งบทสักวา กล่าวถึงตู้ลายรดน้ำฝีมือครูวัดเซิงหวายว่า

       
       สักวาตู้ทองจำลองลาย
อายุนานไม่น้อยนับร้อยปี
บุญดำรงทรงราษฎร์ศาสนา
ตั้งเรียงรายหอสมุดสุดนิยม

     สักวาตู้ทองวัดเซิงหวาย
สิงหราลดาดอกออกพรายเพรา
พฤกษาสูงใบเสียดประสานก้าน
แลแมลงแฝงเกสรภมรบิน
วัดเซิงหวายลือดังครั้งกรุงศรี
ราวสามสี่ล่วงแล้วเกือบแคล้วชม
จึงค้นคว้าของเก่าเข้าสะสม
มีเงินถมสองร้อยชั่งอย่าหวังเลย

แลลวดลายดูเด่นเหมือนเส้นเหลา
ปักษาเจ่าจับจิกผกากิน
รอกทะยานเหยียบนกก็ผกผิน
ลายงามสิ้นดังเจียนทองมาทาบเอย
 
       

     สันนิษฐานว่าลายรดน้ำบนตู้พระธรรมวัดเซิงหวายนี้ น่าจะรังสรรค์ขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นยุคทองของประณีตศิลป์ไทย บานประตูด้านหน้าผูกลวดลายทองบนพื้นรักสีดำ รูปต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา มีฝูงนก กระรอก และสัตว์น้อยใหญ่อยู่อาศัย ตอนล่างเขียนภาพก้านของพันธุ์พฤกษ์ประกอบลวดลายกระหนก สะบัดปลายคล้ายเปลวเพลิงหวิวไหวได้งดงามน่าชม พร้อมรูปสิงโตจีน ในอิริยาบถที่แตกต่างกัน บางตัวกำลังคาบขบลาย ดูคล้ายต้นไม้ที่เพิ่งจะงอกงามเป็นต้นอ่อน

     ความงามของลายรดน้ำวัดเซิงหวาย อยู่ที่การวางจังหวะช่องไฟ เส้นสายอิสระ สอดประสานกับภาพสิงสาราสัตว์ ในท่วงท่าต่างๆ ทำให้ภาพดูเคลื่อนไหวงดงามแปลกตา ผนวกกับการผูกลายที่พริ้วไหว ลายกระหนกแทงช่องอกงามเบิกบานสุดขีด จนได้รับยกย่องในฐานะ "งานชั้นเลิศของศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย" และนับเป็นแบบแผนลายเก่าแก่ที่สุดลายหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย
 
 

12345678
  Save save ภาพ : 617 KB
 

 


 
 
 

 
     


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.