Home & NewsHistoryDhamma AreeKai-U Luck KidDhamma's WebboardContactDhamma Cartoon
 
 
MP3VDOsPDF  




'ดังตฤณ' ศรันย์ ไมตรีเวช
  ๑๔. "การพัฒนาจิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน" โดย ดังตฤณ แนะนำโดย น้องศักดิ์ ดงบัง (๑๑ ส.ค. ๒๕๕๒)

      ถ้าใครเป็นแฟนคลับของนักเขียนนวนิยาย และบทความธรรมะชื่อก้องอย่างคุณ 'ดังตฤณ' ก็น่าจะได้ติตตามข่าวคราว การออกบรรยายธรรมของคุณดังตฤณตามสถานที่ต่างๆ มาบ้าง แต่ครั้งนี้ผมได้รับอีเมลแบบเวียนส่ง (forwarding email) จากน้องศักดิ์ (สุรศักดิ์ ดงบัง) นายทหารอากาศหนุ่ม ผู้มีจิตใจฝักใฝ่ในธรรมะ ส่งบทสรุปจากการบรรยายธรรมของคุณดังตฤณ ที่ กฟผ. บางกรวย จ.นนทบุรี ในหัวข้อ "การพัฒนาจิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน" เมื่อวันที่ ๒๔ ธ.ค. ๒๕๕๑ มาได้อย่างน่าอ่านมากครับ ผมเลยเห็นว่า..น่าจะเอามาลงถ่ายทอดความรู้ต่อๆ กันไป ณ พื้นที่แห่งนี้ด้วย ขอบคุณน้องศักดิ์ด้วยครับ

พ่อไก่อู
 
การพัฒนาจิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
(บรรยายธรรม โดย ดังตฤณ)


ความหมายของจิตที่มีคุณภาพ
๑. ไม่โลภ คือ มีใจอยู่กับงานมากกว่ารางวัลจากงาน
๒. ไม่หงุดหงิด คือ มีความใจเย็นในการทำงาน
๓. ไม่ฟุ้งซ่าน คือ มีความสงบพร้อมจะจดจ่ออยู่กับงาน
๔. ไม่หดหู่ คือ มีความกระตือรือร้นไม่เบื่อหน่ายหน้าที่การงาน
๕. ไม่สับสน คือ มีความชัดเจนในการทำงาน
     • ผลของการมีคุณภาพจิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง คือ สมาธิจิต


ข้อดีของสมาธิจิต
๑. มีสติคงเส้นคงวา /ต่อเนื่อง /ไม่วอกแวก
๒. เป็นฐานให้กับความคิดเชิงบวก /ต่อตนเอง /การทำงาน / เพื่อนร่วมโลก
๓. มีสัญชาติญาณทางจิตที่ดีในการทำงาน (สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องฝึกหัด)


หลักการตั้งจิตเพื่อทำสมาธิ
๑. จดจ่อรู้เห็นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพอดี ๆ
     • ไม่ปล่อยให้เผลอแวบ เป็นเหตุให้ ตื่นตัว
     • ไม่ออกแรงเพ่งเกินไป เป็นเหตุให้ สบาย

๒. สั่งสมกำลังอย่างต่อเนื่อง
     • ทำเรื่อยๆ จนชำนาญอัตโนมัติ
     • ทำซ้ำจนขึ้นใจ และเกิดความรู้ชัด

ตัวอย่าง การเอาลมหายใจมาทำสมาธิ
     • ไม่ต้องหลับตา หายใจเข้ายาวๆ สบายๆ
     • ห่อปาก เป่าลมออกยาวๆ ให้เท่ากับหายใจเข้า
     • สังเกตความรู้สึกตื่นตัวที่เกิดขึ้น
     • ดูว่ากำลังเพ่ง กำลังเผลอ หรือ กำลังพอดี


จิตของคนทำงานทั่วไป
     • ตั้งต้นด้วยความอยากได้รางวัลจากการทำงาน
     • เต็มไปด้วยความไม่พอใจ
     • เค้นความคิดจนเครียด หรือปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
     • ทำแบบขอให้เสร็จๆ ไปที หรือ เซื่องซึม หดหู่
     • สับสน จับต้นชนปลายไม่ติด ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ


วิธีทำงานให้เกิดสมาธิ
๑. กำจัดความโลภ
     • ตั้งรางวัลล่อใจใหม่ ไม่ใช่ของนอกตัวแต่เป็น "คุณภาพของจิต"
     • ระลึกเสมอว่าคุณภาพจิต ได้จากการฝึกหัดจิตอย่างต่อเนื่อง

๒. กำจัดความหงุดหงิด
     • ฝึกคิดให้เกิดความปราถนาดีต่อกัน
     • ฝึกพูดให้เกิดความรู้สึกดีต่อกัน

๓. กำจัดความฟุ้งซ่าน
     • ฝึกทำงานหนักด้วยใจที่เบา
     • เลือกทำงานง่ายให้ช้า เพื่อลดอายุสมอง
     • ฝึกสมาธิ และเจริญสติอยู่กับกายใจ ในปัจจุบัน

๔. กำจัดความหดหู่
     • ฝึกทำงานจำเจด้วยใจที่มีสีสัน
     • เลือกทำงานยากให้เร็วเพื่อเพิ่มความกระตือรือร้น
     • ออกกำลังกาย (การไม่ออกกำลังกายถือเป็นความบกพร่องในการทำงาน /ใช้ชีวิต)
     • เสพความบันเทิงให้เป็น (เลือกฟังเพลงหรือดูหนังที่ชอบจริงๆ ไม่จำเป็นต้องเยอะแต่เอาที่ฟัง /ดู แล้วรู้สึกดีมีกำลังขึ้นมา)
     • พักร้อน (ทำให้จิตว่างจากความคิดเรื่องงาน /เปลี่ยนอารมณ์ /ทำอะไรก็ได้ที่เป็นกุศลที่ทำแล้วจิตสบายไม่คิดเรื่องงาน)

๕. กำจัดความสับสน
     • วางเป้าใหญ่ให้กลายเป็นเป้าเล็ก
     • เตรียมองค์ความรู้ที่จะใช้กับงาน
     • หาก้าวแรกที่เล็กที่สุดให้เจอ
     • อย่าให้ความสำคัญกับก้าวอื่นมากกว่าก้าวปัจจุบัน


(ขอให้ทุกคนมีคุณภาพจิตที่ดีในทุกขณะของการทำงาน.... dongbung)

 
    กลับด้านบน
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.  
start Histats: 29 Aug.2010