|
|
'ต่อยอดความรู้' แนะวิธีการเขียนภาพไทย 'วาดเล่น ๆ' ตามสไตล์ จิด-ตระ-ธานี ในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้เรียงลำดับจากพื้นฐาน (จากง่ายไปหายาก) นะครับ แต่จะแนะเพิ่ม เติมจากภาพที่ส่งกันมา และผมเห็นว่าควรจะ 'ต่อยอด' อย่างไร |
|
|
|
|
|
ต่อยอด ๕
การวาดกระหนก ๓ ตัว : 66 KB
ต้องการ 'ต่อยอด' จากภาพวาด 'กินรี' ของน้องเนอร์สครับ ถ้าได้ศึกษาเพิ่มเติม การออกลายกระหนกแบบต่างๆ ก็จะวาดได้ดีขึ้นครับ (คลิกเลือกหมายเลข ที่ปุ่มบนภาพนะครับ)
ภาพที่ ๑ : กระหนก ๓ ตัว จะอยู่ในโครงรูปสามเหลี่ยมชายธง หรือสามเหลี่ยมมุมฉาก แต่ไม่ควรวาดให้อัดตามเหลี่ยมตามมุม เป๊ะๆ ตามรูปทรงคณิตศาสตร์นะครับ (แบบเอาไม้บรรทัดตีเส้นโครง ให้ได้มุม ๙๐ องศา) ถ้าวาดอย่างนั้น รูปทรงกระหนกที่ออกมาจะแข็งกระทื่อครับ (ประมาณว่า...ตีหัวแตกเลย) แต่ให้จำไว้ว่า ลายกระหนกเป็นลายที่พัฒนามาจากเถาไม้ ไพรพฤกษ์ ในธรรมชาติ มันจึงเลื้อยไปมา แตกกอ ต่อยอดไปได้ครับ
เมื่อได้โครงสามเหลี่ยมแล้ว (ลากเส้นนำ หรือเส้นแกนด้วยนะครับ) จากนั้นจึงร่างโครงกระหนกทั้ง ๓ ตัว เริ่มจากตัวแรกจะโค้งงอที่สุด เราเรียกว่า 'ตัวเหงา' ตัวที่ ๒ จะเป็นตัวประกบ ส่วนหัวขมวดของตัวที่ ๒ จะเกี่ยวหลังกระหนกตัวแรก ส่วนกระหนกตัวยอด ให้สังเกตโคนลาย จะงอกออกมาจากกระหนกตัวที่ ๒ ครับ ต่อจากนั้นจึงใส่โครงกาบใบทั้ง ๒ กาบ ที่โคน 'ตัวเหงา' ๑ กาบ และโคน 'ตัวยอด' ๑ กาบ ตามแบบนะครับ
(อ้อ...ต้องวาดโคนตัวกระหนกทุกตัว ให้เล็กกว่า ส่วนหัวกระหนกนะครับ ไม่งั้นจะดูเป็นท่อตรงๆ เท่ากันไปหมด ไม่สวยครับ)
ภาพที่ ๒ : รูปกระหนก ๓ ตัวที่เสร็จสมบูรณ์ครับ นี่เป็นเพียงแบบหนึ่งของรูปกระหนก ๓ ตัวครับ จริงๆ แล้วสามารถวาดได้หลายแบบ และยังแบ่งซอยย่อย เพิ่มได้อีกเป็น กระหนก ๕ ตัว ๗ ตัว หรือ ๑๒ ตัว (ถ้ามีมากตัว มักเรียกว่า 'กระหนกหางกินรี' ) ตามแต่การออกแบบของช่างครับ ส่วนปลายยอด ผมวาดให้สะบัดเปลวเป็น 'หางไหล' ลายนี้วาดยากหน่อย ต้องค่อยๆ ฝึกครับ ผมเองยังหัดนานครับ กว่าจะวาดจนดูไหลเป็นธรรมชาติอย่างนี้
: จิด-ตระ-ธานี (๑๗ มี.ค. ๒๕๕๑) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels. |
|