|
|
ด.ช. ฐิตธีร์ ฆะระบุตร (น้องหนุน)
การศึกษา : ประถมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนวัดลานตากฟ้า
ชื่อผลงาน : ศึกบางระจัน
ชื่อวรรณกรรม : ศึกบางระจัน
ขนาด : 45 x 65 ซม.
|
|
บทวรรณกรรม
ที่เมืองวิเศษชัยชาญมีคนไทยชื่อ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก (บ้านกลับ) นายทองแก้ว บ้านโพธิ์ทะเล ได้ช่วยกันสู้กับพม่า และฆ่าพม่าตายไป ๒๐ คน แล้วหนีมาที่บ้านบางระจัน ได้รวมกับชาวบ้านบางระจันนิมนต์พระสงฆ์ พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช มาปลุกเสกคาถาอาคม ให้หนังเหนียวมีกำลังใจสู้ศึกกับพม่า ชาวบ้านรวมกันได้ประมาณ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าคือขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ พม่ายกทัพมาตีถึง ๗ เดือนด้วยกัน ก็มิอาจชนะชาวบ้านบางระจันได้
แต่บังเอิญมีชาวมอญชื่อ สุกี้ ที่อาศัยในไทยขันอาสารบกับไทย ใช้วิธีใจเย็นสู้กับชาวบ้านเพราะรู้ว่าชาวบ้านใจร้อน รบกันอยู่นาน ชาวบ้านก็มีใบบอกไปถึงกรุงศรีฯ เพื่อขอปืนใหญ่และกระสุนปืนแต่ได้รับการปฏิเสธ เพียงแต่ส่งนายกองมาช่วยดูชาวบ้าน จึงนำเศษทองเหลืองที่เรี่ยไรมาได้มาหล่อปืนใหญ่ ๒ กระบอก แต่ว่าปืนร้าวใช้งานไม่ได้ สุกี้เห็นว่าไทยเริ่มอ่อนแอ จึงให้ขุดอุโมงค์เข้าไปใกล้ค่ายบางระจัน แล้วเอาปืนใหญ่ตั้งหอสูงระดมยิงใส่ค่ายจนค่ายแตก ทำให้ไทยต้องเสียค่ายบางระจันแก่พม่า (พร้อมด้วยเลือดเนื้อของวีรชนชาวบางระจัน)
ค่ายบางระจันถูกพม่าตีแตกในวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ รวมระยะเวลาที่วีรชนชาวบางระจันต่อสู้นานถึง ๕ เดือน
แนวคิดและเหตุผล
เหตุที่ชอบวรรณกรรมเรื่องศึกบางระจัน เพราะว่ามีความประทับใจชาวบ้าน ที่มีความรักในบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และมีความสามัคคีและพยายามที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ โดยรวบรวมชาวบ้านให้รุกขึ้นสู้กับพม่า ถึงแม้ว่าอาวุธที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไร้ประสิทธิภาพ แต่ชาวบ้านก็ไม่รู้สึกหวั่นกลัวต่อข้าศึกศัตรู ที่มีกำลังคนและอาวุธที่เหนือกว่าชาวบ้านต่อสู้ด้วยความรัก และสามัคคีไม่รู้สึกย่อท้อต่อการต่อสู้ถึงแม้ว่าตัวจะตาย พวกเราควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างถ้าคนไทยมีความสามัคคี และรักบ้านเกิดเมืองนอนเหมือนบรรพบุรุษเหล่านี้ บ้านเมืองเราควรจะเจริญรุ่งเรือง และมีความสุขตลอดไป
ที่มา : www.shincorp.com/2009wanakam
|